นักวิจัยก้าวไปอีกขั้นกับการพิมพ์แบบ 3 มิติ

นักวิจัยprinter_3D
นักวิจัยที่อังกฤษกำลังพัฒนาวัสดุแบบใหม่ในแบบสามมิติ ที่วันหนึ่งข้างหน้าอาจจะทำให้เกิดการพิมพ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นต้นว่า จอยสติ๊ก ที่เข้ากับรูปร่างของมือคนได้อย่างพอดิบพอดี

นักวิจัย มหาวิทยาลัยวอร์ริค ได้สร้างพลาสติกที่ง่ายและราคาไม่แพงที่สามารถใช้สร้างเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตามบ้านได้โดยใช้เครื่องพิมพ์แบบสามมิติรุ่นล่าสุด วัสดุชนิดใหม่นี้ นักวิจัยตั้งชื่อว่า Carboporph เป็นวัสดุที่จะทำให้ผู้ใช้เลิกใช้อุปกรณ์ติดตามทางอิเล็กทรอนิกส์และเซนเซอร์ อันเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องพิมพ์แบบสามมิติไปได้เลย และยังทำให้เครื่องพิมพ์สามารถสร้างพื้นที่ที่ไวต่อการสัมผัสของคนได้ ซึ่งสามารถนำไปต่อกับแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์แบบง่ายๆเพื่อการประมวลผลการสัมผัสต่อไป นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังได้ใช้วัสดุนี้ในการพิมพ์วัตถุที่ฝังเซนเซอร์ลงไปได้ด้วย หรือใช้ในการพิมพ์วัตถุที่จะใส่ปุ่มรับรู้การสัมผัสลงไปได้ เช่น จอยสติ๊ก หรือ แก้วน้ำที่บอกได้ด้วยว่า น้ำเต็มแก้วแล้วหรือยัง ก้าวต่อไปในการวิจัยนี้คือ การพิมพ์วัตถุที่มีโครงสร้างซับซ้อนมากขึ้น และพิมพ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีสายไฟและเคเบิลต่างๆให้ได้ เพื่อจะได้นำสายไฟเหล่านี้ไปเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อการใช้งานได้จริง

การวิจัยครั้งนี้นำโดย ดร.ไซม่อน เลห์ แห่งภาควิชาวิศวกรรม มหาวิทยาลัยวอร์ริค และ ดร.เลห์ เผยว่า “เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากที่จะได้เห็นโมเดลอุปกรณ์ที่ซับซ้อนและประณีต อย่างโทรศัพท์มือถือหรือรีโมทคอนโทรลของโทรทัศน์ที่สามารถสร้างขึ้นมาได้จากการพิมพ์แบบสามมิติ แต่ตอนนี้พิมพ์ออกมาได้ก็เท่านั้นล่ะ เพราะมันยังไม่หลากหลาย และยังไม่สามารถทำงานได้จริง”

“ตอนนี้เรากำลังหาทางที่มันจะพิมพ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ออกมาจากเครื่องพิมพ์แบบสามมิติได้จริงๆ”

“ในระยะยาวนั้น เทคโนโลยีนี้อาจจะปฏิวัติวงการการผลิตในโลกของเราก็ได้ ทำให้ผลิตภัณฑ์หลายๆอย่าง อย่างเช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มีความเฉพาะเจาะจงกับบุคคลๆหนึ่งมากขึ้น มีเอกลักษณ์ และมาจากกระบวนการผลิตที่มีขยะอิเล็กทรอนิกส์น้อยลงด้วย”

“นักออกแบบสามารถใช้เทคโนโลยีนี้ในการทำความเข้าใจว่า คนมักจะสัมผัสกับอุปกรณ์ต่างๆที่ผลิตออกมาอย่างไร โดยใช้วิธีการศึกษาจากเซนเซอร์ติดตามที่ฝังลงไปยังจุดต่างๆของวัตถุ”

“แต่อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นนี้ ผมมองเห็นได้ว่า อุปกรณ์ชนิดนี้สามารถนำไปใช้ในวงการศึกษาได้เป็นอย่างดีเลยนะ จะทำให้วิศวกรรุ่นใหม่ได้สัมผัสกับเทคโนโลยีการผลิตล้ำสมัยที่จะผลิตอุปกรณ์ไฮเทคออกมาได้ในห้องเรียน”

นอกจากนี้ นักวิจัยตั้งใจจะทำให้เซนเซอร์ที่พิมพ์ออกมายังอุปกรณ์ต่างๆสามารถนำมาประมวลผลได้จากซอฟท์แวร์แบบ Open Sources และยังจะมี Library สำหรับเขียนโปรแกรมให้ใช้งานได้ฟรีอีกด้วย ข้อดีของการพิมพ์แบบสามมิติคือ ช่องทางสำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์สามารถพิมพ์ออกมาพร้อมๆกับการสร้างอุปกรณ์ได้เลย แทนที่จะนำกาวไปติดทีหลังนั่นเอง

copyright © 2023 : Rabbit Prototype Co., Ltd.
Privacy Policy | Cookie Policy
Scroll to Top