7 เหตุผลว่าทำไหม กลุ่มโรงงานอุตสหกรรมจึงเปิดแขนรับเทคโนโลยี 3D printing กันช้าเหลือเกิน

1) It’s Not Applicable สำหรับอุตสหกรรม ที่ผลิตของเดิมๆ ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงแบบ และขบวนการผลิตที่ใช้อยู่ มีประสิทธิ์ภาพสูงอยู่แล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องนำเทคโนโลยี่ใหม่ๆเข้ามาใช้ให้ยุ่งยาก 2) Thought Not Applicable แต่บางครั้ง สิ่งที่คิดว่าไม่จำเป็น เกิดจากแนวคิดของทีมบริหาร ที่อาจจะยังมองไม่เห็นโอกาสที่เทคโนโลยี่จะนำประโยชน์มาให้แก่องค์กรได้ เช่นใครจะนึกว่า Drone จะกลายเป็นหนึ่งกลยุกต์ที่หลายบริษัทจะนำมาใช้ในการส่งของ 3D printer ก็เช่นกัน สามารถใช้หลากหลายรูปแบบ พลิกแพลงไปตามจินตนาการของผู้ใช้ 3) Don’t Understand The Potential และการที่มองไม่เห็นโอกาส ก็เกิดมาจากการยังไม่เข้าใจในตัวเทคโนโลยี่และทีมพัฒนายังคิดในกรอบ ยึดติดกับแนวคิดเดิมๆ เช่น อุตสหกรรมการบิน ต้องใช้เวลาหลายปี กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ว่า 3D printing สามารถนำความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงมาสู่การออกแบบเครื่องบิน เพราะ 3D printing สามารถผลิตชิ้นส่วนที่ไม่มีขบวนการผลิตอื่นๆทำได้ เมื่อทีมพัฒนาเปิดกว้างรับความคิดใหม่ๆ การออกแบบก็จะเริ่มก้าวกระโดดไปสู่บางสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนได้ เช่น เครื่อง jet engine ที่สามารถจับหลายๆชิ้นส่วนรวมกันเป็นชิ้นเดียว ลดน้ำหนัก เพิ่มประสิทธิ์ภาพโดยรวม เป็นอะไรที่ไม่เคยมีมาก่อน …

7 เหตุผลว่าทำไหม กลุ่มโรงงานอุตสหกรรมจึงเปิดแขนรับเทคโนโลยี 3D printing กันช้าเหลือเกิน Read More »

ทำความรู้จักกับ 3D Printing หรือ การพิมพ์ 3มิติ

3D Printing คืออะไร? 3D Printing คือการสร้างชิ้นงานออกมาในลักษณะที่จับต้องได้ ถ้าจะพูดให้เห็นภาพก็คือ 3D Printer : ได้ขวดที่เป็นเหมือนขวดจริงๆ 2D Printer : ได้ภาพขวดที่พิมพ์ลงบนกระดาษ 3D Printing ทำอะไรได้บ้าง? สร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototyping & Product Design) เช่น ชิ้นส่วนอะไหล่, โมเดลจำลอง, เครื่องประดับ ฯลฯ การศึกษา ( Education) การแพทย์ และ ทันตกรรม (Medical & Dental) 3D Printing เหมาะกับอุตสาหกรรมการแพทย์อย่างมาก เนื่องจากร่างกายคนเรามีสัดส่วนและขนาดไม่เหมือนกัน นอกจากการใช้สร้าง Prototype สำหรับอุปกรณ์การแพทย์แล้ว 3D Printer ยังช่วยให้เราสามารถผลิตอุปกรณ์ที่มีขนาดและรูปร่างเฉพาะสำหรับแต่ละบุคคลได้ เช่นการทำครอบฟัน ฟันปลอม อุปกรณ์ช่วยฟัง ยานยนต์ (Automotive) วงการยานยนต์เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่มีการใช้ 3D Printing ใช้ในการออกแบบทำ Prototype …

ทำความรู้จักกับ 3D Printing หรือ การพิมพ์ 3มิติ Read More »

หนูน้อยแต่งชุดผี Spirited Away ดังรับฮาโลวีน ขวัญใจชาวเน็ตคนใหม่

กลายเป็นเด็กน้อยผู้โด่งดังชั่วข้ามคืนไปซะแล้ว กับหนูน้อยชาวไต้หวันในชุดฮาโลวีน ที่ตอนนี้เชื่อว่าไม่ว่าหน้าฟีดของใครก็จะมีภาพของหนูน้อยคนนี้ในชุด “ผีไร้หน้า”(No face) เป็นหนึ่งในตัวละคร ชื่อดังจากอนิเมชั่นเรื่อง Spirited Away ภาพอนิเมชั่นเรื่อง Spirited Away ภาพชุดที่โด่งดังในโลกโซเชียล แต่ด้วยความที่หนูน้อยแต่งตัวมาเหมือนต้นฉบับมากทั้งชุดสีดำและใบหน้าที่ถูกทาจนขาว ทำให้เพื่อนที่โรงเรียนเกิดกลัวจริงๆ ร้องไห้โฮและไม่ยอมเข้าใกล้ แต่หนูน้อยคนนี้ก็ยังคงนิ่งเฉยราวกับกำลังรักษาคาแรคเตอร์ของผีตัวนี้อยู่ และหลังจากทราบว่ามีคนชื่นชมรูปของลูกอย่างมาก จึงกระหน่ำลงรูปให้พวกเราได้ดูกันอย่างจุใจ นอกจากนี้ ยังมีภาพน่ารักๆ รูปอื่นๆ ของเธอในเวลาที่ยังไม่ได้ทาหน้าขาว ก็เผยให้เห็นโฉมหน้าที่น่ารักตัวจริงอีกด้วย เรียกได้ว่าทำให้ ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ก็อดไม่ได้ ที่อมยิ้มไปกับ การแต่งกายคอสเพลย์ น่ารักๆ จากหนูน้อยชาวไต้หวันคนนี้ และแถมตัวจริง ก็ยังน่ารักไม่แพ้ตอนแต่งเป็นผีน้อยอีกด้วย [pexyoutube pex_attr_src=”https://youtu.be/4lEySYI1PgA”][/pexyoutube] ขอบคุณรูปภาพประกอบ : Sanook.com

เทคโนโลยีการสร้างต้นแบบรวดเร็ว “ต้นแบบอวัยวะ”

‘การสร้างต้นแบบหรือแบบจำลองอวัยะนั้น อาศัยเทคโนโลยีที่เรียกว่า เทคโนโลยีการสร้างต้นแบบรวดเร็ว (Rapid Prototyping Technology) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในหลายแวดวง สำหรับบ้านเราจะใช้ในแวดวงอุตสาหรรมเป็นหลัก โดยเฉพาะ อุตสาหกรรม ยานยนต์ อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ และอุตสาหกรรมรองเท้า ประเทศไทยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ จากประเทศเบลเยียม เมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว โดยมีสถาบัน AIT เป็นแกนหลัก ซึ่งศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ได้มีโอกาส เข้าไปร่วมงานด้วยตั้งแต่ต้น เทคโนโลยีการสร้างต้นแบบรวดเร็วทางการแพทย์ ก็เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ได้รับการถ่ายทอดในครั้งนั้น ซึ่งหลังจากโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ ที่ AIT เสร็จสิ้น เอ็มเทค ได้สานต่อองค์ความรู้ด้านนี้ ด้วยเล็งเห็นว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ ต่อวงการแพทย์ของประเทศ ในด้านการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์ รวมทั้งการรักษาผู้ป่วย กระบวนการสร้างต้นแบบรวดเร็วทางการแพทย์ เริ่มต้นจากการป้อนข้อมูล อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของผู้ป่วย เพื่อสร้างภาพต้นแบบ 3 มิติขึ้นในคอมพิวเตอร์ โดย อวัยวะที่มีโครงสร้างเป็นกระดูก จะได้ข้อมูลจากเครื่องถ่ายภาพทางคอมพิวเตอร์(Computer Tomography, CT) แต่หากเป็นเนื้อเยื่ออ่อน ก็จะได้จากเครื่องสร้างภาพ ด้วยสนามแม่เหล็ก (Magnetic Resonance Imaging, …

เทคโนโลยีการสร้างต้นแบบรวดเร็ว “ต้นแบบอวัยวะ” Read More »

สถาบันสุขภาพทุกแห่งในต่างประเทศได้ร่วมมือกันสร้างคลังข้อมูลออนไลน์ที่เกี่ยวกับ โมเดลหัวใจ จากเครื่อง 3D Printer

ในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการพิมพ์ และ สแกน 3 มิติ ที่เกี่ยวข้องกันกับด้านสุขภาพกำลังจะกลายเป็นมาตราฐานมากขึ้น อีกทั้งยังได้ครอบคลุมไปถึงการผ่าตัดช่วยชีวิต ด้วยตัวช่วยจากการพิมพ์สามมิติ ที่พิมพ์แบบจำลองชิ้นส่วนอวัยวะในการผ่าตัด ซึ่งในบางเคสที่การผ่าตัดธรรมดาไม่สามารถทำได้ และ ในบางเคสก็ไม่เคยใช้การพิมพ์สามมิติ ร่วมกับการผ่าตัดมาก่อน แต่ขั้นตอนเหล่านี้ กำลังจะกลายเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้น เมื่อผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมการแพทย์ เริ่มต้นที่จะพูดคุยถึงมาตรฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้ 3D model of a heart with neonatal pulmonary atresia VSD. [Image: Dr. Matthew Bramlet]  ศูนย์ดูแลสุขภาพ OSF และ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการทำ 3D สแกนและพิมพ์โมเดลสามมิติ  อีกทั้งยังร่วมกับ สมาคมโรคหัวใจอเมริกา (AHA) เพื่อสร้างห้องสมุดออนไลน์เกี่ยวกับโมเดลหัวใจสามมิติ ที่แพทย์ทั่วโลกจะสามารถส่งแบบจำลองของ หัวใจที่มีข้อบกพร่องแต่กำเนิด โดยตรงจากภาพสแกนของผู้ป่วย และตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีความชำนาญในการสร้างแบบจำลองหัวใจสามมิติ   และ เมื่อเร็วๆ นี้ ตัวแทนจาก AHA และ NIH …

สถาบันสุขภาพทุกแห่งในต่างประเทศได้ร่วมมือกันสร้างคลังข้อมูลออนไลน์ที่เกี่ยวกับ โมเดลหัวใจ จากเครื่อง 3D Printer Read More »

ความสำคัญของต้นแบบอาหารและบรรจุภัณฑ์กับอุตสาหกรรมอาหาร

ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้เครื่องพิมพ์สามมิติเริ่มมีราคาถูกลงและหลากหลายฟังค์ชั่น ซอฟต์แวร์จำพวกตระกูล CAD ที่ใช้ออกแบบงานสามมิติก็มีเยอะแยะมากมายหลายแบบ แถมยังมีเครื่องมือประมวลผลที่รวดเร็วและมีราคาถูกลง ทำให้วิธีการสร้างต้นแบบต่างๆออกมาได้อย่างรวดเร็วมาก ไม่เสียเวลารอ แถมยังมีอีกหลายวิธีที่จะสร้างออกมาไม่ว่าจะเป็นการใช้เลเซอร์เผา (SLS) เครื่องปั้นแบบ (SLA) เครื่องพิมพ์แบบสามมิติ (3DP) ที่เราจะพบได้บ่อยในอุตสาหกรรมมยานยนต์และอวกาศ เพราะนำไปใช้ผลิตเป็นแผงรับแสงอาทิตย์ Solar Cell เพื่อผลิตไฟฟ้าป้อนประชาชนได้มากถึง 1.3 พันล้านคนเลยทีเดียว ภาพรวมของการสร้างต้นแบบอาหารกับวงการอุตสาหกรรมอาหารนั้น จะแบ่งออกไปได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆโดยใช้ครื่องพิมพ์แบบสามมิติได้แก่ 1 บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม 2 อาหารต้นแบบสำหรับการผลิตอาหาร ขั้นตอนการสร้างต้นแบบของบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มนี้ แม้จะรวดเร็วแต่เมื่อเข้าสู่การผลิตอย่างเต็มรูปแบบแล้วจะมีความแตกต่างจากหลายๆวงการอุตสาหกรรมโดนเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และอวกาศ ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้พัฒนาและปั้นต้นแบบจะมีความชำนาญในด้านนี้แค่ไหน เมื่อมีเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติแล้ว ก็ทำให้ต้นแบบบรรจุภัณฑ์นั้นไม่ต่างไปกับสินค้าจริงๆเลย เมื่อต้นแบบบรรจุภัณฑ์มีความสำคัญกับการตลาดมากขึ้น ก็เลยทำให้เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน จึงทำให้หลายๆบริษัทกล้าลงทุนซื้อเครื่องพิมพ์สามมิติและจ้างผู้เชี่ยวชาญมาทำงานเพื่อกระตุ้นยอดขายของสินค้าชิ้นนั้นๆด้วย   ต้นแบบอาหารสามมิติ เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากสำหรับวงการอาหารที่มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติ ซึ่งเราหลายๆคนเคยเห็นแบบจำลองอาหารที่วางอยู่ตามหน้าเค้าเตอร์ ซึ่งเป็นตัวช่วยตัดสินใจว่าเราจะสั่งอาหารชุดนี้หรือไม่ และอนาคตเราอาจจะไม่ต้องเข้าครัวอีกแล้ว ถ้ามีเครื่องพิมพ์สามมิติที่มีไว้สำหรับผลิตอาหารโดยเฉพาะ เพียงแค่เลือกเมนูแล้วสั่งผลิต เราก็จะได้อาหารที่หน้าตาชวนรับประทานและยังมีรสชาติแบบเดียวกับที่พ่อครัวปรุงให้รับประทานทุกประการ สำหรับอนาคต ถ้าทั้ง 2 อย่างนี้สามารถทำได้จริง เพียงแค่เรามีเครื่องพิมพ์สามมิติแล้วก็วัตถุดิบตามที่เราต้องการก็สามารถปรุงอาหารอร่อยๆได้ แม้ตัวท่านอาจจะอยู่ในที่ๆทุรกันดารก็ตาม ซึ่งเป็นประโยชน์มาก เพราะนอกจากเราจะได้ลิ้มลองอาหารที่ปรุงสุกแล้ว ยังเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมอาหารออกไปได้อีก …

ความสำคัญของต้นแบบอาหารและบรรจุภัณฑ์กับอุตสาหกรรมอาหาร Read More »

3D PRINTING นวัตกรรมพลิกโลก

พิมพ์วัตถุใช้เอง? 3D Printing คือกระบวนการผลิตรูปแบบหนึ่งซึ่งนำวัตถุดิบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพลาสติก โลหะ ฯลฯ มาขึ้นรูปชิ้นงานทีละชั้นจนได้เป็นรูปทรงที่สามารถจับต้องได้ โดยสิ่งที่ผู้ใช้จะต้องมีคือเครื่องพิมพ์ระบบสามมิติ (3D Printer) วัตถุดิบ และพิมพ์เขียวของวัตถุที่เราต้องการ “พิมพ์” ออกมา ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบไฟล์ CAD (Computer Aided Design) หรือไฟล์ 3D Scanner จะว่าไปเทคนิค 3D Printing ก็ไม่ใช่ของใหม่นัก เพราะได้มีการใช้ในแวดวงอุตสาหกรรมสำหรับกระบวนการ Rapid prototyping หรือการทำต้นแบบรวดเร็ว  มาตั้งแต่ยุคทศวรรษ 1980 แล้ว โดยอีกชื่อหนึ่งที่อาจเคยได้ยินในแวดวงวิศวกรรมเครื่องกลคือ Additive Manufacturing (AM) หรือการขึ้นรูปชิ้นงานด้วยการเติมเนื้อวัสดุเข้าไป ซึ่งจะต่างจากการผลิตแบบสกัดเนื้อวัสดุออกหรือ Subtractive Manufacturing (SM) อย่างเช่น การกลึง เจาะ ไส หรือเจียรไน เป็นต้น เพราะฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่า 3D Printing ก็คือกระบวนการที่เป็นลูกพี่ลูกน้องของเทคนิคดังกล่าวนั่นเอง ขั้นตอนการทำงานของ 3D …

3D PRINTING นวัตกรรมพลิกโลก Read More »

อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กับการใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติในการสร้างชิ้นงานต้นแบบ

ในปัจจุบันเทคโนโลยีของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ได้มีส่วนสำคัญอย่างมากในอุตสาหกรรมบ้านเราหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นงานต้นแบบ หรือ การใช้ Prototype เพราะในสมัยก่อน การที่เราจะขึ้นชิ้นงานต้นแบบได้นั้น ต้องร่างบนกระดาษหรือบนคอมพิวเตอร์ อีกทั้งยังไม่สามารถจับต้องชิ้นงานได้ แต่ใน ณ ปัจจุบันเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ได้เข้ามาช่วยให้การสร้างชิ้นงานนั้น ทำได้ง่ายขึ้นและยังสามารถทำให้ผู้ออกแบบสามารถตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขแบบให้สมบูรณ์ ก่อนส่งต่อไปยังกระบวนการผลิต เพื่อผลิตขึ้นเป็นชิ้นงานจริง ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมานี้ หลายบริษัทชั้นนำของโลก ได้เริ่มหันมาใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ อาทิ เช่น กลุ่มบริษัท Unilever ที่นำเทคโนโลยี 3 มิติมาใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ ซึ่งนอกจากจะลดระยะเวลาการผลิตได้ถึงร้อยละ 40 แล้ว ยังสามารถช่วยให้บริษัทฯ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้รวดเร็วยิ่งชึ้น ผู้เชี่ยวชาญได้ อธิบายถึงประโยชน์ของการใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ในการทำชิ้นงานต้นแบบว่าช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย โดยต่างจากเมื่อก่อนเวลาจะสร้างงานต้นแบบต้องจ้างบริษัทที่รับฉีดพลาสติกเพื่อทำการขึ้นรูปชิ้นงานแต่ตอนนี้สามารถใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติสร้างงานต้นแบบขึ้นได้เองและสามารถหาจุดบกพร่องของชิ้นงานเพื่อแก้ไขงานได้ตามต้องการ เทคโนโลยี 3 มิติ นอกจากจะช่วยให้ผู้ผลิต สามารถนําผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้นแล้ว …

อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กับการใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติในการสร้างชิ้นงานต้นแบบ Read More »

3D Printer ทำอะไรได้บ้าง

เอ….. 3D Printer ทำอะไรได้บ้างน๊าา..❓ 🐰 น้องต่ายมีคำตอบมาฝากค่ะ_____________ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เรามีบริการประเมินราคาให้ฟรีค่ะ ☎ 02-744-9874-5 #RabbitInfographic #RabbitPrototype #3dprinting#3dprinter  

copyright © 2023 : Rabbit Prototype Co., Ltd.
Privacy Policy | Cookie Policy
Scroll to Top