การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3

บทความนี้ผมขอหยิบเอาบทความที่ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ได้เขียนลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจไว้ แล้วนำมาขยายความต่อเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดขึ้นนะครับ

“การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกนั้นเกิดขึ้น 200 ปีที่แล้ว โดยสาระสำคัญ คือ การประดิษฐ์เครื่องจักร (ในขั้นแรกคือเครื่องจักรไอน้ำ) เพื่อทดแทนแรงงานของมนุษย์ ทำให้เกิดการสร้างโรงงานขนาดใหญ่ในเมือง (mechanization) เพื่อให้คนงานจำนวนมากต้องมาทำงานร่วมกัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำลายการผลิตในระดับครัวเรือน (cottage industry) เพิ่มผลผลิตและความสำคัญของภาคอุตสาหกรรม ทำให้ภาคเกษตรกรรมตกต่ำลงในเชิงเปรียบเทียบ

  

 

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สองเกิดขึ้นประมาณ 80 ปีที่ผ่านมา จากการปฏิรูปทางการผลิตของ Henry Ford ที่เป็นการแบ่งกันประกอบและเน้นการผลิตจำนวนมากเพื่อลดต้นทุนต่อหน่วยให้ต่ำ (Moving Assembly Line และ Mass Production) ทำให้สรุปได้ว่าโรงงานยิ่งมีขนาดใหญ่ก็จะยิ่งได้เปรียบ หรือ Economy of Scale ทำให้เกิดบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ที่มีโรงงานการผลิตขนาดใหญ่ทั่วโลก ตัวอย่างที่ใกล้ตัวที่สุด คือ บริษัทรถยนต์ข้ามชาติ ซึ่งผลิตรถยนต์รุ่นหนึ่งปีละหลายแสนคัน เพื่อให้ต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด ทำให้ปัจจุบันมีบริษัทรถยนต์ขนาดใหญ่เพียงสิบกว่าบริษัทและยากที่จะเห็นบริษัทรถยนต์ขนาดเล็กสามารถมาแข่งขันได้

ในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ The Economist กล่าวถึงว่า กำลังจะเกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นเป็นการผลิตที่นำเอาเทคโนโลยีมาปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตและการตลาดครั้งใหญ่ โดยในอนาคต Economist เชื่อว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงจาก Economy of Scale เป็น Economy of Speed และจาก Mass Production เป็น Mass Customization แปลว่าการผลิตในอนาคตจะเป็นการผลิตที่ไม่ต้องผลิตจำนวนมาซ้ำซาก แต่จะสามารถผลิตสินค้าที่มีความแตกต่างกัน ตรงตามความต้องการของลูกค้าทุกคนทุกประการ นอกจากนั้น เนื่องจากปริมาณการผลิตต่อโรงงานไม่สูงมาก ก็แปลว่าสามารถที่จะลดขนาดโรงงานลงและที่สำคัญจะต้องย้ายโรงงานไปตั้งอยู่กับฐานลูกค้าในแต่ตลาดเพื่อที่จะสามารถตอบสนองความต้องการที่ปรับเปลี่ยนไปของผู้บริโภคในแต่ละตลาดได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ”

นั่นเป็นบางส่วนของบทความ ที่บรรยายถึง การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 ที่่อ้างอิงถึงบทความจากหนังสือ The Economist ซึ่งเทคโนโลยีที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในเรื่องนี่ก็คือ 3D Printer ซึ่งที่จริงแล้วบทความนี้กล่าวถึง 3D Printer ด้วยแต่จะพูดอ้างอิงเชิงเศรษฐศาสตร์เป็นส่วนใหญ่

3D Printer

เทคโนโลยี 3D Printer เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายปี 1960 แต่สามารถนำมาใช้จริงได้ประมาณปี 1980 ซึ่งในช่วงแรกๆ จะใช้ในงานวิจัยและชื่อที่เรียกกันในยุคนั้นก็คือ Rapid Prototyping หรือเทคโนโลยีการขึ้นต้นแบบรวดเร็ว โดยหลักก็คือนำเอาเทคโนโลยีนี้มาใช้ทำชิ้นงานต้นแบบอย่างรวดเร็ว (โดยไม่ไปทำแม่พิมพ์เพื่อผ่านกระบวนการขึ้นรูปใดๆ) เห็นมั้ยครับฟังดูเหมือนว่าคนที่คิดค้นและใช้งานในยุคก่อนก็ยังไม่เห็นภาพว่าสิ่่งนี้จะทำให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 ใดๆ เลย แล้วภาพนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

 

ปี 1996 เป็นช่วงที่มีการพัฒนาเทคโนโลยี Rapid Prototype อย่างมา เครื่อง Rapid Prototyping มีราคาถูกลงและเริ่มมีการบัญญัติคำใหม่ก็คือ 3D Printer และต่อมาก็มีการใช้ชื่อ Additive Manufacturing ซึ่งเหมือนกับเป็นการบอกว่านี่คือกระบวนการผลิตรูปแบบหนึ่ง (Manufacturing Process) นั่นเอง ซึ่งผมเองก็เริ่มได้ยินบ่อยขึ้นโดยเฉพาะเมื่อกลางปี 2013 ที่ผ่านมา ท่านประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ท่าน บารัค โอบาม่า ได้พูดในสภาคองเกรสว่า 3d printing และ กระบวนการผลิตที่ไฮเทคจะเป็นแม่เหล็กที่จะดูดเอาตำแหน่งงานกลับเข้าสู่สหรัฐอเมริกา

 

Subtractive Manufacturing และ Additive Manufacturing

บทความนี้ผมจะไม่ลงลึกถึงเทคนิคและการทำงานของ 3D Printer แต่อยากจะให้รู้ถึงแนวโน้มของ 3D Printer หรือ Additive Manufacturing ที่จะพัฒนาต่อไปในอนาคตมากกว่า แต่ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจ Concept ของ Subtractive Manufacturing และ Additive Manufacturingก่อนดีกว่าครับ

 

การผลิตแบบ Subtract หรือการลบออก เอาออก เป็นกระบวนการของการเริ่มต้นด้วยวัสดุที่เป็นก้อนตัน และ เลือกลบสิ่งที่ไม่จำเป็น จนรูปสุดท้ายที่โผล่ออกมากระบวนการนี้จะอธิบายได้ง่าย ยกตัวอย่างเช่น การแกะสลักรูปปั้นหินอ่อนของ Michelangelo ศิลปินที่มีชื่อเสียง เมื่อถามว่า สมเด็จพระสันตะปาปา ถามถึงวิธีการที่เขาทำรูปปั้นของ เดวิด จนเหมือนมีชีวิตที่งดงามของเขา Michelangelo ตอบว่า “ผมก็ลบทุกอย่างที่ไม่ได้มีลักษณะเหมือน เดวิด ออกไปจากก้อนหินซะก็เท่านั้นเอง” ซึ่งในปจัจจุบันเราพบกระบวนการเหล่านี้เป็นปกติ เช่น กลึง กัด ไส เจาะ ทั่วๆ ไป

แต่การผลิตแบบ Additive เป็นกระบวนการผลิต โดยการเพิ่มวัสดุเข้าไปเติมที่ละชั้นทีละชั้นจนเป็นชิ้นงานที่ต้องการ โดยรูปแบบของชั้นบางๆ ในแต่ละชั้นได้มาจากการประมวลผลจากโมเดล 3 มิติที่เราออกแบบในโปรแกรม CAD กระบวนการนี้ ช่วยลดเวลาค่าใช้จ่าย ในการผลิตชิ้นงานที่มีความเป็น Unique หรือความเป็นเฉพาะตัวสูง

อนาคต

นอกจากปัจจุบันที่บริษัทผู้ผลิต 3D Printer ชั้นนำอย่าง Stratasys นำเสนอเครื่่อง Fortus มาใช้ผลิต Jig&Fixture หรือ Tool ต่างๆ แบบรวดเร็ว และลดขั้นตอนการผลิตแล้ว ซึ่งเป็นการใช้งานในอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย ปัจจุบันยังมีการนำไปช่วยด้านการแพทย์ ร่วมกับเครื่อง CT Scan

นอกจากนี้ยังมีการนำเอา 3D printer มาผลิตสินค้า เช่น เครื่องดนตรี, อุปกรณ์เสริมโทรศัพท์มือถือ เช่น Case iPhone จนกระทั่งชุดชั้นใน ยังมีการคาดการในอนาคตอีกว่าจะมีการพัฒนาต่อไปอีก ตัวอย่างเช่น
• การซื้อของที่ต้องการ ณ จุดผลิตโดยสามารถปรับแต่งรูปแบบสินค้าตามความต้องการก่อนที่เราจะ (Customize Manufacturing)
• การส่งชิ้นงาน 3 มิติแบบไร้สายหรือ 3D Fax โดยผู้ส่งแค่ Upload ข้อมูล CAD
• การ Shopping Online จะไม่จำกัดอยู่แค่ข้อมูล ภาพ เสียง หรือ VDO แต่เราสามารถซื้อของได้ ตัวอย่างเช่น อะไหล่หรืออปุกรณ์ Gadget ต่างๆ ซึ่ง 3D Printer จะผลิตให้เราที่บ้าน หลังจาก Download ข้อมูล 3 มิติเสร็จ
• การผลิตแบบ On Demand เช่น อาจตั้งโปรแกรมให้ 3D Printer พิมพ์แปรงสีฟันที่เหมาะกับรูปปากของคุณ โดยใช้ข้อมูลใน Server ทุกๆ 3 เดือนเพื่อให้คุณได้ใช้แปรงที่ใหม่อยู่เสมอ

ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

ข่าวร้าย

ผลกระทบทางลบต่อเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด มาจากจำนวนตำแหน่งงาน กับงานที่เทคโนโลยี 3D Printer จะทำให้ล้าสมัยและเข้ามาทดแทน สิ่งที่จะกลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศ คือการนำเข้าส่งออกที่จะลดลง เพราะต่อไปเราไม่จำเป็นต้องนำเข้าของจริงจากประเทศผู้ผลิต เราเพียงแต่ Download สินค้าที่เราต้องการเท่านั้น หมายความว่าเราไม่จำเป็นที่จะต้องมีระบบการผลิตและห่วงโซ่การกระจายสินค้าแบบเดิมๆ อีกต่อไป

การผลิตแบบ Mass Production จะไม่เป็นที่ต้องการ ในขณะที่เราจะผลิตเฉพาะสิ่งที่เราต้องการ ในสิ่งที่เราจำเป็นต้องใช้มันเท่านั้น โกดังเต็มรูปแบบ การเก็บสต็อกสินค้าและอะไหล่ต่างๆ จำนวนมากจะไม่จำเป็น การทำ Packaging การขนส่งสินค้าด้วยวิธีต่างๆ ผู้จัดจำหน่ายสินค้าและผู้ค้าปลีก จะถูกลดบทบาทไป

ข่าวดี

ใน ‘ข่าวร้าย’ ยังคงมีสิ่งต่างๆ จำนวนมากที่จะได้รับผลกระทบด้านบวกจาก 3D Printer เกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก แม้ว่าหลายประตูดูเหมือนจะปิด สำหรับคนที่กำลังมองหางานเทคโนโลยีนี้ นำความคิดใหม่และวิธีการในการทำงาน ด้วยโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ เมื่ออินเทอร์เน็ตเปลี่ยนจากการเป็นเครื่องมือที่จะใช้ส่งอีเมลล์ กลายเป็นสถานที่ช้อปปิ้งที่บ้าน นำไปสู่การถดถอยของการค้าปลีก ซึ่งนำไปสู่การหดหายจำนวนมากของตำแหน่งงาน ธุรกิจขนาดใหญ่หลายแห่งเกิดผลกระทบและบางส่วนมีการปิดกิจการ

สิ่งที่อินเทอร์เน็ตทำให้เกิดผลกระทบด้านบวก เช่น ธุรกิจการสร้างออกแบบ Website, Online Marketing การตลาดอินเทอร์เน็ต, ช่างเทคนิค, โซเชียลมีเดีย, บล็อก จะเฟื่องฟู คนหลายล้านคนจะทำงาน Online ผลิตภัณฑ์เนื้อหาหรือบริการ และระบบหมุนเวียนทางเศษฐกิจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง การใช้จ่ายหลายพันล้านดอลล่าร์จะเกิดขึ้นชั่วข้ามคืน จากการที่ระบบเศษฐกิจแบบไม่มีเวลาปิดเปิด
อีกหนึ่งอาชีพที่จะได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางคือ อาชีพ Designer ที่ออกแบบด้วยโปรแกรม 3 มิติเพราะคุณจะได้ขายผลิตภัณฑ์ที่คุณออกแบบได้ไม่ว่าคุณจะทำงานอยู่ที่ไหน แค่ Upload สินค้าที่คุณต้องการให้ลูกค้าหรือร้านค้า Online อย่าง www.shapeways.com เป็นต้น

ที่กล่าวมาทั้งหมดก็ได้รวบรวมข้อมูลจากหลายๆ ด้าน ถึงสิ่งที่ผู้ที่พัฒนาและคิดค้นมองไปข้างหน้า แต่ใครจะรู้ว่าเมื่อไรมันจะมาถึง “การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3”
BY…Prakit L.

 

Cr. https://www.applicadthai.com

copyright © 2023 : Rabbit Prototype Co., Ltd.
Privacy Policy | Cookie Policy
Scroll to Top